ธุรกิจและบริการ

DW24

รู้จัก DW

  • DW = Derivative Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์)
  • DW เป็นหลักทรัพย์ จดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (SET)
  • ผู้ออกเป็นบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคาร ไม่ใช่เจ้าของหุ้นอ้างอิง
  • คุณสมบัติเหมือนสัญญาอนุพันธ์ (Call/Put)
  • ซื้อขายเหมือนหุ้น (ขั้นต่ำ 100 หน่วย) และค่าคอมมิชชั่นเท่ากับหุ้น
  • มีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker)
  • ปัจจุบันไม่สามารถแลกเป็นหุ้นอ้างอิงได้เมื่อถึงวันครบกำหนดอายุ

นักลงทุนที่เหมาะสมกับการลงทุน DW

  1. ชอบลงทุนใช้เงินน้อย แต่ได้ลุ้นเยอะ :

    DW ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เงินลงทุนไม่มากเมื่อเที่ยบกับผลตอบแทนที่ได้รับ ในที่นี้ผลตอบแทนหมายถึงนักลงทุนมีโอกาสได้รับกำไรเยอะๆ หรือขาดทุนเยอะได้เช่นกัน

  2. ชอบซื้อขายทั้งขาขึ้น และขาลง :

    จุดเด่นที่สำคัญของ DW คือสามารถให้นักลงทุนสามารถทำกำไรได้ คือ Call DW เหมาะสม ในสภาวะตลาดขาขึ้น และ Put DW เหมาะสมในสภาวะตลาดขาลง

  3. ชอบค่าคอมมิสชั่นถูกๆ :

    ราคา DW มักจะต่ำกว่ามูลค่าตลาดของหุ้นอ้างอิงมาก เช่น DW ราคา 5 บาท ราคาหุ้นอ้างอิงต่อ 1 DW อยู่ที่ 50 บาท แปลว่า นักลงทุนจ่ายค่าคอมมิสชั่นในการซื้อ DW น้อยลง 10 เท่าเมื่อเทียบกับการซื้อขายหุ้นอ้างอิง

ประโยชน์และความเสี่ยงของ DW

ประโยชน์ของ DW
  • ใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการซื้อขายหุ้นอ้างอิงโดยตรง
  • เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราทด (Gearing) สามารถทำกำไรได้มากแม้หุ้นอ้างอิงจะเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย
  • สามารถจำกัดผลการขาดทุนได้ แต่มีโอกาสทำกำไรได้ไม่จำกัด
  • สามารถทำกำไรได้ ไม่ว่าราคาหุ้นอ้างอิงจะปรับตัวขึ้นหรือลง
  • มีสภาพคล่องสูงเนื่องจากมีผู้ดูแลสภาพคล่องทำให้นักลงทุนสามารถซื้อขาย DW ได้ตามที่ต้องการ
  • ไม่ต้องวางหลักประกัน
ความเสี่ยงของ DW
  • ไม่ซื้อ DW ที่ราคาต่ำกว่า เพราะเชื่อว่าถูกกว่า :

    การเปรียบเทียบว่า DW ตัวใดถูกกว่า ควรพิจารณาความผันผวนแฝง (Implied Volatility) DW ตัวใดมีความผันผวนแฝงน้อยกว่านั้นถือว่าถูกกว่า แต่ในทางปฏิบัติ DW ที่ได้รับความนิยมอย่างไม่ได้มีความผันผวนแฝงน้อยที่สุดก็ได้ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะใช้ความผันผวนแฝงเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ

  • หลีกเลี่ยงการซื้อ DW ที่มีราคาต่ำกว่า 0.10 บาท :

    นักลงทุนบางคนอาจชอบซื้อ DW ราคาต่ำๆ เช่น 1 สตางค์ เพราะคิดว่าถ้าราคาปรับเพียง 1 ช่วงราคา จะทำให้ตนได้รับกำไรทันที 100% ซึ่งเหตุการณ์นี้มีโอกาสเกิดได้แต่น้อยมาก ทำให้นักลงทุนอาจขาดทุนเม็ดเงินลงทุนทั้งหมด อีกทั้งเมื่อราคา DW ต่ำกว่า 5 สตางค์ ผู้ดูแลสภาพคล่องไม่จำเป็นต้องรับซื้อคืนแล้ว อาจทำให้ราคาของ DW นั้นลดลงอย่างรวดเร็ว

  • อย่าซื้อแบบถัวเฉลี่ย :

    เพราะเมื่อเวลาผ่านไปราคา DW จะค่อยๆ ลดลงอันเนื่องจากการเสื่อมค่าทางเวลา

  • ไม่ถือ DW นานเกินไป :

    ราคาของ DW จะค่อยๆลดลงตามการเสื่อมค่าของเวลา แม้ว่านักลงทุนจะลงทุนถูกทาง และควรได้กำไร แต่ถ้าถือ DW ไว้เป็นระยะเวลานานเกินไป ผลของเวลาอาจทำให่กลายเป็นขาดทุนได้

  • ไม่ควรถือ DW จนครบกำหนดอายุ :

    เนื่องจากนักลงทุนจะเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา40(8) หรือภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 เว้นแต่ว่าจะมีกรณีที่ขายไม่ได้ เพราะไม่มีผู้รับซื้อคืนอันเนื่องจากว่าราคาใกล้ศูนย์ ในกรณีนี้นักลงทุนจะขาดทุนเงินลงทุนทั้งหมดแทน

สอบถามข้อมูล กรุณาติดต่อ ฝ่ายค้าตราสารอนุพันธ์
โทรศัพท์ : 0 2658 9915
Email : dw@fnsyrus.com
DW24 Website : http://www.dwarrant24.com/
2024-04-26T22:59:50