ธุรกิจและบริการ

ขั้นตอนการลงทุนในตราสารหนี้

การซื้อขายตราสารหนี้ไม่ได้ยากเย็นอย่างที่หลายๆ คนคิด เพราะมีความคล้ายคลึงกับการซื้อขายหุ้น โดยเริ่มต้นจาก
1. กำหนดวัตถุประสงค์และระยะเวลาการลงทุน

เนื่องจากตราสารหนี้มีมากมายหลายประเภท การเลือกตราสารหนี้ที่เหมาะสมและคุ้มค่าผู้ลงทุนต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ชัดเจนก่อนการลงทุน

  • วัตถุประสงค์ในการลงทุนคืออะไร?
  • สามารถรับระดับความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน?
  • ต้องการผลตอบแทนที่คาดหวังสูง ต่ำ หรือปานกลาง?
  • มีระยะเวลาในการลงทุนนานเท่าใด?
  • จะลงทุนในตราสารหนี้ประเภทเดียวหรือหลายประเภท?

ดังนั้น ก่อนจะลงทุนตราสารหนี้แบบไหนควรศึกษาลักษณะต่างๆ ให้ดีก่อน เพราะตราสารหนี้แต่ละประเภทก็มีเงื่อนไขการลงทุนและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน เราควรเลือกประเภทที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของเราให้มากที่สุด

2. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เกี่ยวกับตราสารหนี้

ผู้ลงทุนจำเป็นต้องศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เกี่ยวกับตราสารหนี้ให้ดีก่อนเริ่มลงทุน ไม่ว่าจะเป็น

  • ภาวะเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้น
  • สถานการณ์ของตลาดตราสารหนี้โดยทั่วไป
  • ข้อมูลของบริษัทผู้ออก และอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออก
  • สภาพคล่องของตราสารหนี้
  • ฯลฯ

Credit Rating

โดยทั่วไปตราสารหนี้ภาครัฐมักมีสภาพคล่องที่สูงกว่าตราสารหนี้ภาคเอกชน และตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ได้รับอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า Investment Grade หรือไม่มีการจัด Rating จะมีสภาพคล่องต่ำ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาความเสี่ยงด้านสภาพคล่องหรือความเสี่ยงที่ไม่สามารถขายตราสารหนี้ในเวลาที่ต้องการ หรือขายได้ในราคาต่ำก่อนการลงทุนเสมอ

ระดับเครดิต TRIS & FITCH
สูงสุด AAA
สูง AA+
AA
AA-
ปานกลาง-สูง A+
A
A-
ต่ำ-ปานกลาง BBB+
BBB
BBB-
เก็งกำไร BB+
BB
BB-
เก็งกำไรอย่างสูง B
เสี่ยงสูงมาก CCC+
CCC
CCC-
เก็งกำไรชัดเจน C
ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ D
ตราสารหนี้ของภาครัฐถือเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยไม่มีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ (Risk-fee) เนื่องจากมีรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ออกตราสารหนี้ ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนนักลงทุนสามารถที่จะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทที่สนใจลงทุนได้จาก อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) ดังตาราง ซึ่งจะเห็นว่ายิ่งอยู่ในอันดับที่สูงก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่ำ
AAA อันดับเครดิตสูงที่สุด ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำที่สุดในการที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
AA อันดับเครดิตรองลงมา มีความเสี่ยงต่ำมากในการที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
A ความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ
BBB ถือว่ามีความเสี่ยงและความสามารถในการชำระหนี้ในระดับปานกลาง
BB มีความเสี่ยงในระดับสูง
B มีความเสี่ยงในระดับสูงมาก
C มีความเสี่ยงในระดับสูงที่สุด
D อยู่ในสถานะของการผิดนัดชำระหนี้
หมายเหตุ : โดยปกติ อันดับเครดิต “BBB” หรือ “Baa” จัดเป็นอันดับที่ลงทุนได้ หรือ Investment Grade หากอันดับเครดิตต่ำกว่านี้ ความเสี่ยงจะสูงขึ้นจัดเป็น ระดับเก็งกำไร หรือ Speculative Grade
ประเภทตราสารหนี้ แบ่งตามผู้ออก
  1. รัฐบาล / หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 องค์กรย่อย ได้แก่
    1. รัฐบาล(Government)
      • ตั๋วเงินคลัง (Treasury bill): เป็นตราสารหนี้ระยะสั้น มีอายุไม่เกิน 365 วัน
      • พันธบัตรรัฐบาล (Loan bond): เป็นตราสารหนี้ระยะยาว มีอายุตั้งแต่ 365 วัน
    2. ธนาคารแห่งประเทศ (Bank of Thailand)
      • ตั๋วเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (Central bank bill): เป็นตราสารหนี้ระยะสั้น มีอายุไม่เกิน 365 วัน
      • พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand bond): เป็นตราสารหนี้ระยะยาวมีอายุตั้งแต่ 365 วัน
    3. รัฐวิสาหกิจ (State-owned-enterprise)
      • พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (State-owned-enterprise bond): เป็นตราสารหนี้ระยะยาว มีอายุมากกว่า 365 วัน
  2. บริษัทเอกชน (Corporate company) ตราสารหนี้ที่ออกโดยกลุ่มนี้จะเรียกโดยรวมว่า หุ้นกู้ (Corporate bond)ทั้งนี้ สามารถเลือกออกเป็นระยะสั้น ซึ่งมีอายุไม่เกิน 270 วัน หรือ ระยะยาว ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 270 วัน ก็ได้
  3. องค์กรต่างประเทศ (Foreign) ตราสารหนี้ที่ออกโดยกลุ่มนี้จะเรียกว่า ตราสารหนี้ต่างประเทศ (Foreign bond) โดยอาจจะเป็นบริษัทต่างชาติ หรือ หน่วยงานภาครัฐต่างชาติก็ได้ ส่วนใหญ่มักออกเป็นตราสารหนี้ระยะยาว
แบ่งตามลำดับสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้
แบ่งตามลำดับสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้
วิธีอ่านสัญลักษณ์ตราสารหนี้ระยะยาว
วิธีอ่านสัญลักษณ์ตราสารหนี้ระยะยาว
สัญลักษณ์ TRUE174A หมายถึง หุ้นกู้ระยะยาวของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนเมษายน ค.ศ. 2017 เป็นหุ้นกู้รุ่นแรกของบริษัทที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนและปีดังกล่าว
วิธีอ่านสัญลักษณ์ตราสารหนี้ระยะสั้น
วิธีอ่านสัญลักษณ์ตราสารหนี้ระยะสั้น
สัญลักษณ์ BEC17612A หมายถึง ตั๋วแลกเงินของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2017 เป็นหุ้นกู้รุ่นแรกของบริษัทที่ครบกำหนดไถ่ถอนในวัน เดือนและปีดังกล่าว
3. ตัดสินใจซื้อขายตราสารหนี้
ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ 3 วิธี คือ ลงทุนตราสารหนี้ในตลาดแรก ลงทุนตราสารหนี้ในตลาดรอง หรือลงทุนทางอ้อมผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้
ลงทุนตราสารหนี้ในตลาดแรก
ลงทุนตราสารหนี้ในตลาดแรก
เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกขายเป็นครั้งแรกในตลาด ซึ่งจะมีความแตกต่างกันระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและตราสารหนี้ภาคเอกชน ดังนี้
ตราสารหนี้ภาครัฐ
การจองซื้อ
  • ประเภทผู้ลงทุน: ผู้ลงทุนทั่วไป
  • ตราสารหนี้ที่ซื้อได้: พันธบัตรออมทรัพย์
  • เงินลงทุนขั้นต่ำ: 1,000 บาท
  • ตัวแทนจำหน่าย (Selling Agent): ธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง (BBL/KBANK/KTB/SCB)
การประมูล
  • ประเภทผู้ลงทุน: ผู้ลงทุนสถานบัน
  • ตราสารหนี้ที่ซื้อได้: พันธบัตรประเภทต่างๆ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ฯลฯ
  • เงินลงทุนขั้นต่ำ: ไม่ระบุ
  • ตัวแทนจำหน่าย (Selling Agent):
    • ธนาคารพาณิชย์ 14 แห่ง
    • บริษัทหลักทรัพย์ (บล. หรือโบรกเกอร์) 29 แห่ง
  • วิธีการประมูล:
    • ประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Bid)
    • ประมูลแบบไม่แข่งขันราคา (Non-Competitive Bid)
ตราสารหนี้ภาคเอกชน
การเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering: PO)
  • ประเภทผู้ลงทุน: ผู้ลงทุนทั่วไป
  • เงินลงทุนขั้นต่ำ: 50,000-100,000 บาท
  • ตัวแทนจำหน่าย (Selling Agent): ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ออก
  • การจัดอันดับตราสารหนี้: มี
การเสนอขายให้แก่ผู้ซื้อในวงจำกัด (Private Placement: PP)
  • ประเภทผู้ลงทุน:
    • ผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่
    • ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงไม่เกิน 10 ราย
  • เงินลงทุนขั้นต่ำ: ไม่ระบุ
  • ตัวแทนจำหน่าย (Selling Agent): ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ออก
  • การจัดอันดับตราสารหนี้: ไม่จำเป็นต้องมี
ลงทุนตราสารหนี้ในตลาดรอง
เมื่อตราสารหนี้ผ่านการซื้อขายไปสู่ผู้ลงทุนในตลาดแรกแล้ว หากมีการซื้อขายเปลี่ยนมือ จะเป็นการซื้อขายในตลาดรองโดยสามารถซื้อขายได้ 2 ช่องทาง คือ
ซื้อขายแบบ Over the Counter (OTC)
ซื้อขายแบบ Over the Counter (OTC)
ผู้ที่สนใจจะซื้อหรือขายตราสารหนี้สามารถติดต่อกับ ผู้ค้าตราสารหนี้ (Dealers) ซึ่งปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ 14 แห่ง และบริษัทหลักทรัพย์ (บล. หรือโบรกเกอร์) 29 แห่ง เพื่อแจ้งความประสงค์และทำการซื้อขายโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นการซื้อขายระหว่าง
  • ผู้ค้าตราสารหนี้ด้วยกัน
  • ผู้ค้าตราสารหนี้กับผู้ลงทุนสถาบัน
ซื้อขายผ่านตลาดตราสารหนี้ (Thai Bond Exchange: TBX)
ซื้อขายผ่านตลาดตราสารหนี้
  • เปิดบัญชีซื้อขายกับบริษัทหลักทรัพย์
  • ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์
    ระบบ AOM ระบบ Trade Report
    ไม่เกิน 10,000 หน่วย หรือ 10,000 บาท เกิน 10,000 หน่วย หรือ 10,000,000 บาทขึ้นไป
  • บริษัทหลักทรัพย์แจ้งยืนยันผลการสั่งซื้อขาย
  • ชำระเงินและรับมอบหลักทรัพย์ในวันทำการที่ 2 หลังจากวันที่มีการซื้อขาย (T+2) โดยค่าคอมมิชชั่นไม่เกิน 0.25% (ไม่รวม VAT)
ลงทุนทางอ้อมผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้
เหมาะสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย เนื่องจากใช้เงินลงทุนไม่มาก อีกทั้งยังสามารถเลือกเงื่อนไขในการขายคืนหรือจะถือจนครบกำหนดอายุก็ได้ ทำให้สะดวกต่อการบริหารเงิน หากลงทุนในกองทุนเปิดจะได้รับความสะดวกในเรื่องสภาพคล่องและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่อย่างไรก็ดี กองทุนรวมตราสารหนี้ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน โดยกรณีที่ราคาตราสารหนี้เปลี่ยนแปลง NAV ของกองทุนรวม และราคาซื้อขายของหน่วยลงทุน ก็จะเปลี่ยนแปลงด้วย
ขั้นตอนการซื้อขายตราสารหนี้ ผ่านกองทุนรวม
ขั้นตอนการซื้อขายตราสารหนี้ ผ่านกองทุนรวม
4. ติดตามผลการลงทุน

หลังจากที่ผู้ลงทุนตัดสินใจซื้อหรือขายเรียบร้อยแล้ว อย่าลืม "ติดตามผลการลงทุน" และ "ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการลงทุน" อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะข่าวในแวดวงตลาดตราสารหนี้ หรือบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ เพราะการที่ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และทันต่อเหตุการณ์ จะทำให้สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนได้ทันท่วงที

จะเห็นว่าการลงทุนใน "ตราสารหนี้" เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะผู้ซื้อตราสารหนี้ จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ซึ่งจะได้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และได้เงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดอายุ

ที่มา : http://www.thaibma.or.th/
สอบถามข้อมูล กรุณาติดต่อ ฝ่ายบริหารสินทรัพย์ลงทุนลูกค้า
โทรศัพท์ : 02-646-9650
Email : funds@fnsyrus.com
2024-04-24T23:31:36