ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการ
การวิเคราะห์ความต้องการเพื่อเตรียมความพร้อมในการลงทุน โดยให้ผู้ลงทุนได้ตรวจสอบเป้าหมายและความเสี่ยงที่ตัวเองยอมรับได้ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญอย่างมากที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการทำความเข้าใจผู้ลงทุน เพื่อให้กำหนดแนวทางการออกแบบการลงทุนได้สอดคล้องตามจริงกับพฤติกรรมและความสนใจของผู้ลงทุน
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดสัดส่วนเงินลงทุน
การกำหนดสัดส่วนเงินลงทุน (asset allocation) เพื่อให้สัมพันธ์กับเป้าหมายและความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้ ขั้นตอนนี้เป็นการออกแบบสัดส่วนในการแบ่งเงินไปลงทุนในทรัพย์สินประเภทต่างๆ ว่าจะลงในตราสารประเภทไหน ลงกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์ลักษณะใด ในสัดส่วนเท่าไร โดยจะวิเคราะห์และกำหนดให้ชัดในขั้นตอนนี้ เพื่อวางรากฐานสัดส่วนเงินลงทุนของผู้ลงทุนให้สอดคล้องกับความต้องการในระยะยาว
ขั้นตอนที่ 3 การเลือกการลงทุนตามเป้าหมาย
การเลือกลงทุนตามเป้าหมาย การเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินมาลงทุนตามสัดส่วนเงินลงทุนในขั้นตอนที่ 2 เป็นการลงรายละเอียดว่า ควรลงทุนในอะไร ซึ่งจะเลือกด้วยเหตุด้วยผล ด้วยความเข้าใจที่สอดคล้องกับเป้าหมายและความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนรับได้ ทำให้การตัดสินใจลงทุนมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ลงทุน
ขั้นตอนที่ 4 การติดตาม และปรับกลยุทธ์
สถานการณ์การลงทุนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การหยุดนิ่งจะเป็นจุดอันตรายที่ทำให้การลงทุนผิดเป้าได้ง่าย การติดตามและปรับกลยุทธ์การลงทุน ให้ทันกับสถานการณ์ จะช่วยให้แผนการลงทุนไปถึงเป้าหมายได้จริงมากยิ่งขึ้น เมื่อแนะนำมาถึงขั้นที่สามแล้ว ขั้นที่สี่จึงเป็นเสมือนเพื่อนที่จะช่วยคอยดูแลให้การลงทุนไม่หลุดจากเป้าหมายที่กำหนดไว้
ขั้นตอนที่ 5 รายงานสถานะการลงทุน
การรายงานสถานะการลงทุนให้ผู้ลงทุนทราบเป็นระยะๆ มีผลอย่างมากต่อการติดตามตรวจสอบและทบทวนการลงทุนว่ามีความคืบหน้า สอดคล้อง และเป็นไปตามเป้าหมายการลงทุนที่วางไว้แล้วหรือยัง