2023-03-28T06:41:38

ภาษี

ภาษีในประเทศ

ภาษีจากการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ เงินได้ที่ได้รับจากการลงทุนในต่างประเทศได้แก่ กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ เงินปันผล และดอกเบี้ย หากนำเงินได้ดังกล่าวกลับมาในประเทศไทย ภายในปีภาษีเดียวกันกับที่นำเงินออกไปลงทุน นักลงทุนต้องนำเงินได้ส่วนที่เป็นกำไรนั้นยื่นแก่กรมสรรพากรเพื่อชำระภาษี ตามฐานภาษีของตนเองในประเทศไทย

นักลงทุนจะต้องเสียภาษีในประเทศไทย ต่อเมื่อครบ 2 เงื่อนไข ดังต่อไปนี้

  1. ผู้มีเงินได้เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย และอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วัน
  2. นำเงินได้ในต่างประเทศกลับมาในประเทศไทย

ตัวอย่าง

โอนเงินไปลงทุนต่างประเทศ 1,000,000 บาท ในปี 2022 และขายหุ้นในปี 2022 แล้วเกิดเป็นกำไร (capital gain) 500,000 บาท รวมเงินสุทธิ 1,500,000 บาท

  1. หากถอนเงินกลับประเทศไทย 900,000 บาทในปี 2022
    • ไม่ต้องเสียภาษี เพราะถือเป็นการนำเงินต้นกลับประเทศ ขณะนี้เงินเหลือสุทธิ 600,000 บาท
    • (เงินต้น 100,000 บาท, กำไร 500,000 บาท)
  2. หากถอนเงินกลับประเทศเพิ่มอีก 100,000 บาทในปี 2022
    • ไม่ต้องเสียภาษี เพราะยังถือว่าเป็นการนำเงินต้นกลับประเทศ ขณะนี้เงินเหลือสุทธิ 500,000 บาท
    • (เงินต้น 0 บาท, กำไร 500,000 บาท)
  3. หากต้องการถอนเงินทั้งหมด 1,500,000 บาทกลับมาในปี 2022
    • ต้องเสียภาษี เพราะมีส่วนเงินกำไรที่เกิดขึ้น 500,000 บาท ที่นักลงทุนต้องนำไปรวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีกับกรมสรรพากร

สรุป: เงินต้นเอากลับมาได้เสมอ แต่ส่วนของกำไรหากนำกลับมาในปีปฏิทินต้องนำไปรวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีกรมสรรพากร

ต้องเสียภาษีเท่าไร ?

ขึ้นอยู่กับฐานเงินได้ / เงินเดือนของแต่ละคน (แต่ละคนรายได้ไม่เท่ากัน)

ทั้งนี้หากทางนักลงทุนมีการเสียภาษีที่ซับซ้อนต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีโดยเฉพาะ

ภาษีนอกประเทศ

สำหรับ Capital Gain Tax :

  • ไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากการขายหลักทรัพย์

สำหรับ Dividend Tax :

  • อัตราภาษีปันผลจะแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนใหญ่จะถูกหัก ณ ที่จ่าย
  • ทั้งนี้ อัตราภาษีในหลักทรัพย์ตลาดเดียวอาจจะแตกต่างกันในแต่ละหลักทรัพย์ด้วย

บริการยื่นข้อมูลภาษีเงินปันผลสำหรับตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ

(1) U.S. Relief at Source เป็นบริการขอลดหย่อนภาษีเงินปันผล หัก ณ ที่จ่าย จากการถือหลักทรัพย์สหรัฐฯ และ (2) รายงาน U.S. Tax Report เป็นการรายงาน รายได้ และข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย แก่กรมสรรพากรประเทศสหรัฐฯ (Internal Revenue Service: IRS) โดยบริการทั้งหมดนี้สำหรับลูกค้าที่มีบัญชีหลักทรัพย์ต่างประเทศและสนใจบริการยื่นข้อมูลภาษีรับเงินปันผลจากการถือหลักทรัพย์สหรัฐฯ ในระหว่างปี